เมนู

ถามว่า ก็พวกภิกษุเท่านั้นหรือ ย่อมเจริญสติปัฏฐานเหล่านี้ ภิกษุณี
เป็นต้นไม่เจริญหรือ ?
ตอบว่า ชนเหล่าอื่นแม้มีภิกษุณีเป็นต้นก็เจริญ แต่ภิกษุทั้งหลาย
เป็นบริษัทชั้นเลิศ. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิธ ภิกฺขุ เพราะความเป็น
บริษัทชั้นเลิศ ด้วยประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระองค์ตรัสอย่างนั้นก็เพราะ
จะแสดงความเป็นภิกษุด้วยการปฏิบัติ จริงอยู่ บุคคลใดดำเนินไปสู่การปฏิบัติ
นี้ บุคคลนั้น ชื่อว่า ภิกษุ ด้วยว่าบุคคลผู้ปฏิบัติจะเป็นเทวดาหรือเป็น
มนุษย์ก็ตาม ย่อมถึงการนับว่าเป็น ภิกษุ ทั้งนั้น. เหมือนอย่างที่ตรัสพระ-
คาถา ว่า
แม้ถ้าว่า ผู้ใด มีธรรมอันประดับ
แล้ว ผู้สงบแล้ว ผู้ฝึกตนแล้ว ผู้เที่ยง ผู้
ประพฤติพรหมจรรย์ สละอาชญาในสัตว์
ทั้งปวง ประพฤติธรรมอันสงบ ผู้นั้น
เป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นภิกษุ.


อธิบายคำ อชฺฌตฺตํ กาเย (ในกายภายใน)


คำว่า อชฺฌตฺตํ ท่านประสงค์เอากายภายในอันเป็นของตน.
เพราะฉะนั้น คำว่า อชฺฌตฺตํ กาเย จึงได้แก่ ในกายของตน. บรรดาคำ
เหล่านั้น คำว่า กาเย ได้แก่ ในรูปกาย. จริงอยู่ รูปกาย ประสงค์เอาว่า กาย
ในที่นี้ ดุจกายช้าง กายม้า และกายรถ เป็นต้น เพราะอรรถว่า เป็นที่ประชุม
แห่งธรรม คือ อวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลาย และโกฏฐาสทั้งหลายมีผมเป็นต้น.
ก็รูปกาย ท่านประสงค์เอาว่า กายเพราะอรรถว่า เป็นที่ประชุม ฉันใด รูป

กาย ท่านก็ประสงค์เอาว่า กาย เพราะอรรถว่าเป็นบ่อเกิดแห่งสิ่งเลวทราม
ฉันนั้น. จริงอยู่ ที่ชื่อว่ากาย เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งโกฏฐาสทั้งหลายมีผมเป็น
ต้นอันเลวทราม คือ อันน่ารังเกียจอย่างยิ่ง. ประเทศอันเป็นบ่อเกิด ชื่อว่า
อายะ. พึงทราบวจนัตถะในคำว่า อายะ นั้น ดังนี้
กายชื่อว่า อายะ (บ่อเกิด) เพราะอรรถว่า เป็นแดนเกิดแห่งธรรมทั้ง
หลาย (หรือว่า ธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดแต่กายนี้ ฉะนั้น กายนี้จึงชื่อว่า อายะ)
ถามว่าธรรมเหล่าไหนย่อมเกิด. ตอบว่า โกฏฐาสทั้งหลายมีผมเป็นต้น อันน่า
รังเกียจ ย่อมเกิด. เพราะฉะนั้น กาย ก็คือ บ่อเกิดแห่งโกฏฐาสทั้งหลาย
มีผมเป็นต้นอันน่ารังเกียจ
ด้วยประการฉะนี้.

อธิบายคำว่า กายานุปสฺสี (มีปกติตามเห็นกาย)


คำว่า กายานุปสฺสี ได้แก่ มีปกติตามเห็นกาย หรือว่า เห็นกาย
อยู่เนือง ๆ ก็คำนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ตรัสคำว่า กาเย
ดังนี้แล้วทรงทำศัพท์กายที่ 2 ว่า กายานุปสฺสี ดังนี้อีก เพื่อจะแสดงการ
กำหนดและการแยกฆนะเป็นต้น ไม่ให้ปะปนกัน. ด้วยเหตุนั้น จึงมิได้ตรัสว่า
มีปกติตามเห็นเวทนาในกาย หรือว่า มีปกติตามเห็นจิต มีปกติตาม
เห็นธรรมในกายเลย
โดยที่แท้ ทรงแสดงการกำหนดมิให้ปะปนกัน โดย
การแสดงอาการ คือ การตามเห็นกายในวัตถุกล่าวคือกาย ในคำว่า กาเย
กายานุปสฺสีเยว
(มีปกติตามเห็นกายในกายเท่านั้น) ดังนี้. โดยทำนองเดียวกัน
ก็ไม่ตรัสว่า มีปกติตามเห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่งนอกจากอวัยวะน้อยใหญ่ใน
กาย ทั้งไม่ตรัสว่า มีปกติตามเห็นผู้หญิง ผู้ชาย นอกจากผมขนเป็นต้น.
ก็กายแม้ใดกล่าวคือที่ประชุมแห่งภูตรูป และอุปาทารูปมีผมขนเป็นต้น มีอยู่